ผู้ป่วยสื่อสารไม่ค่อยดี ทำอย่างไร ?

ผู้ป่วยสื่อสารไม่ค่อยดี ทำอย่างไร ?อีกหนึ่งความท้าทายที่เราพบเจอกันได้บ่อยๆ สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมก็คือปัญหาเรื่องการสื่อสาร ผู้ป่วยที่เริ่มมีความถดถอยด้านการรู้คิดหรือแม้กระทั่งเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อม มักจะมีปัญหาด้านการสื่อสารไม่บ้างก็น้อย เช่น พูดช้า พูดไม่คล่อง พูดติดขัด นึกคำไม่ออก เรียกชื่อไม่ถูก หรือแม้กระทั่งฟังไมได้ยิน ฟังสิ่งที่เราพูดไม่เข้าใจ แล้วในฐานะผู้ดูแจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ? สิ่งสำคัญอันดับแรก ต้องเริ่มต้นที่ทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วยคือ ต้องเข้าใจว่าความเจ็บป่วยของผู้ป่วยเป็นความเสื่อมถอยทางสมองคล้ายๆกับความเสื่อมถอยที่เกิดกับร่างกาย แต่มองด้วยตาไม่เห็น ดังนั้นจึงต้องอาศัยความเข้าอกเข้าใจที่ค่อนข้างมาก ว่าอาการที่ผู้ป่วยเป็น สิ่งที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญ เกิดจากโรคของเขา ความสามารถต่างๆย่อมไม่เท่าเดิม การเรียนรู้การปรับตัวย่อมไม่ดีเหมือนเดิมเราอาจจำเป็นต้องปรับตัวเข้าหาผู้ป่วยเป็นหลัก มากกว่าจะคาดหวังให้ผู้ป่วยปรับตัวเข้าหาเรา เพราะอาจจะเป็นไปได้ยากด้วยข้อจำกัดของตัวโรคในขณะนี้ คาดหวังลดลงซักหน่อย ใจเย็นมากขึ้นซักนิด จะช่วยให้การดูแล พูดคุยสื่อสาร เป็นไปได้ด้วยดีมากขึ้น ต่อมาคือการวิเคราะห์ปัญหาว่าปัญหาในการสื่อสารที่ไม่ดีของผู้ป่วยแท้จริงแล้วเกิดจากอะไรกันแน่ ซึ่งหลักๆแล้วมักจจะเกิดจาก 3 สาเหตุที่พบบ่อย 1. การได้ยินที่ลดลงเมื่อผู้ป่วยได้ยินไม่ชัด ก็ฟังไม่รู้เรื่องเรื่องสื่อสารได้ยากลำบากมาขึ้นซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการับการตรวจการได้ยินและรักษาสาเหตุของการได้ยินที่ไม่ชัดให้เหมาะสมเน้นพูดสื่อสารช้าๆ ชัดถ้อยชัดคำ ด้วยปรพโยคที่เข้าใจง่าย 2. การนึกคำพูดไม่ออก คือผู้ป่วยเข้าใจภาษาดี รู้ว่าจะสื่อสารอะไร แต่ติดขัดในการนึกคำพูด คิดช้าลงกว่าแต่ก่อน​ทำให้เวลาจะพูดอะไรออกมาทำได้ลำบากมากขึ้น อาจใช้เทคนิคในการสื่อสารเพื่อช่วยในการเดาสิ่งที่ผู้ป่วยจะพูด จากบริบท ผ่านการสื่อสารทดแทนเช่นการพิมพ์หรือการเขียนหรือผ่านการถามคำถามนำ ให้ตัวเลือกต่างๆ 3. การสูญเสียความสามารถทางด้านภาษาคือผู้ป่วยเสียความเข้าใจในภาษาและความรู้ความเข้าใจทั่วไปทำให้ฟังแล้วไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร จะเรียกก็เรียกไม่ถูก […]

สมองเสื่อมป้องกันอย่างไร ?

สมองเสื่อมป้องกันอย่างไร ?วิธีป้องกันภาวะสมองเสื่อม 14 เรื่อง ที่ทำได้ไม่ยาก แต่ช่วยลดโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ไม่น้อย ! อย่างที่เราทราบกันดีว่าภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากกลุ่มโรคของความเสื่อมถอยของระบบประสาท มีสาเหตุจากโปรตีนก่อโรคที่สะสมในสมอง ทำให้สมองเสื่อมถอยลงจนเกิดภาวะสมองเสื่อม แต่ว่าในหลายๆครั้ง โปรตีนก่อโรคเพียงอย่างเดียว ก็อาจจะไม่สามารถทำให้สมรรถภาพสมองของผู้ป่วยแย่ลงจนมีอาการได้ แต่ต้องมีปัจจัยและสาเหตุอื่นๆอีกหลายอย่าง ที่ทำให้สมองอ่อนแอลงจนเกิดภาวะสมองเสื่อมด้วย แล้วถ้าเราจัดการแก้ไขปัจจัยเหล่านั้นก็อาจจะป้องกันตัวเองหรือคนที่เรารัก จากภาวะสมองเสื่อมได้ ถึงแม้จะมีโปรตีนก่อโรคสะสมอยุ่ในสมองแล้วก็ตาม ! แล้วปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยให้เราสามารถป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ อ้างอิงจากรายงานของ Lancet commission “Dementia prevention, intervention, and care: 2024 report of the Lancet standing Commission” พบว่ามีปัจจัยถึง 14 ปัจจัยที่เราสามารถปรับเปลี่ยน เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมลงไปได้ นั่นคือ 1. การศึกษาและการกระตุ้นสมอง 2. ปัญหาการได้ยิน 3. คอลเลสเตอรอล LDL ในเลือดสูง 4. ภาวะซึมเศร้า 5. การบาดเจ็บทางศีรษะ 6. กิจกรรมทางกายภาพ(การออกกำลังกาย)7. โรคเบาหวาน8. […]

ภาวะสมองเสื่อมป้องกันได้หรือไม่ ?

ภาวะสมองเสื่อมป้องกันได้หรือไม่ ? หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าภาวะสมองสมองเสื่อม ที่ฟังดูเป็นโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อม ความแก่ชราอย่างรวดเร็วของระบบประสาทจะสามารถป้องกันได้รึเปล่า ? ก่อนอื่นเลยต้องรู้กันก่อนว่า“กลุ่มโรคความเสื่อมของระบบประสาท” (neurodegenerative disease)ที่ทำให้เกิด”ภาวะสมองเสื่อม”(dementia)ที่คนทั่วไปอาจจะเรียกกันติดปากง่ายๆว่าโรคสมองนั้น สาเหตุเกิดจากอะไร ถ้าตอบให้เข้าใจโดยง่ายก็คือโรคกลุ่มนี้ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีโปรตีนผิดปกติ เป็รโปรตีนก่อโรคสะสมอยู่ในสมอง ซึ่งพอโปรตีนก่อโรคพวกนี้สะสมมากๆนานวันเข้า ก็จะทำให้เซลล์สมองเกิดความเสียหาย ทำให้มีความเสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็วผิดปกติของสมองเมื่อเทียบกับคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นโรค และนั่นก็ทำให้ผู้ป่วยมีอาการถดถอยของความรู้คิดซึ่งถ้าอาการยังเป็นมากขึ้นเรื่อยๆก็จะมีอาการของภาวะสมองเสื่อมตามมานั่นเอง แต่การที่มีโปรตีนก่อโรคสะสมอยู่ในสมองแล้ว ไม่ได้การันตีว่าคนๆนั้นจะต้องมีภาวะสมองเสื่อมเสมอไป เพราะมีงานวิจัยศึกษาพบว่า แม้ในผู้สูงอายุที่มีโปรตีนก่อโรคสะสมอยู่ในสมองไปแล้วบางส่วนก็ยังไม่มีภาวะสมองเสื่อมให้เห็นตลอดชีวิตของเขา นั่นแสดงว่ามีปัจจัยบางอย่างของสมองที่สามารถต้านทานภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนก่อโรคเหล่านั้นได้ ซึ่งปัจจัยเหล่านั้น ที่เป็นหัวใจสำคัญในการปกป้องสมองจากความเสื่อมถอยก็คือการดูแลด้านต่างๆของสุขภาพให้ดี โดยด้านที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน คือ 1. ร่างกายแข็งแรงดี : ดูแลร่างกายทั้งร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ที่สุด 2. สมองแข็งแรงดี : มีการใช้งานสมองให้เกิดการคิด บริหารสมองเป็นประจำ3. ปกป้องสมองให้ดีจากสิ่งอันตราย โดยเฉพาะบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ปัจจัยที่ช่วยให้เราปกป้องสมองของเราจากภาวะสมองเสื่อมได้ ไม่ได้มีแค่นี้ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกถึง 14 อย่าง ที่แนะนำให้ทุกคนปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม สำหรับข้อมูลในหัวข้อ สมองเสื่อมสามารถป้องกันได้หรือไม่ ? สามารถฟังรายละเอียดเพิ่มเติมได้ผ่านวิดีโอของคลินิกความจำ ช่องทางนี้ได้เลยครับ บทความโดย นพ.ธารา รักษ์อารีกุล แพทย์อายุรกรรมเฉพาะทางระบบประสาทและสมอง ทีมงานคลินิกความจำ

โรคสมองเสื่อมคืออะไร ?

โรคสมองเสื่อมคืออะไร ? หลายๆคนอาจจะยังสงสัยอยู่ว่า “โรคสมองเสื่อม” คืออะไร ? อาการของโรคสมองเสื่อมเป็นยังไง ?แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนใกล้ชิดของเราเป็นโรคสมองเสื่อมแล้วหรือยัง ? จริงๆแล้วต้องบอกก่อนว่าสมองเสื่อม จริงๆแล้วไม่ใช่โรค แต่เป็น “กลุ่มอาการ”หมายความว่าจริงๆแล้วมีโรคได้หลากหลายโรคมากมาย ที่ทำให้มี “อาการสมองเสื่อม” หรือ “ภาวะสมองเสื่อม”และโรคสุดฮิตที่หลายๆคนคุ้นหูอย่างเช่น โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะสมองเสื่อมนั่นเอง แต่ก็ยังมีโรคอื่นๆได้อีกหลายชนิด ที่ทำให้มีภาวะสมองเสื่อมได้ แล้วภาวะสมองเสื่อมนั้นประกอบด้วยอาการอะไรบ้างอาการของภาวะสมองเสื่อมมีได้หลากหลาย ตั้งแต่1. อาการหลงลืม ความจำผิดปกติ 2. มีความบกพร่องทางมิติสัมพันธ์ ทำให้หลงทิศหลงทาง คาดคะเนด้วยตาไม่ดี 3. การใช้ภาษาบกพร่อง ฟังไม่เข้าใจ คิดคำพูดไม่ออก 4. ขาดสมาธิ 5. ความรู้คิดในการบริหารจัดการงานต่างๆผิดปกติ 6. พฤติกรรมและความเข้าใจบริบททางสังคมผิดปกติ ซึ่งแต่ละอาการดังกล่าว ต้องเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะยาวเวลานานหลายเดือนส่วนมากจะค่อยๆกินระยะเวลาหลายปี จนเริ่มทำให้ผู้ป่วยมีความบกพร่องในการดำรงชีวิตประจำวันตามปกติ ต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้ดูแล ซึ่งอาการทางสมองที่แย่ลง จริงๆทางที่ดีก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุ อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าเป็นความถดถอยทางสมองของคนสูงอายุตามปกติ เพราะหลายครั้งอาจมีโรคหรือสาเหตุบางอย่างที่สามารถรักษาให้หายได้ เช่น ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ภาวะหายใจอุดกั้นตอนนอน หรือมีความผิดปกติที่กระทบกับเนื้อสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าภาวะถดถอยทางความรู้คิดของสมองแย่ลงจนถึงระดับที่ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ […]