ผู้ป่วยสื่อสารไม่ค่อยดี ทำอย่างไร ?
อีกหนึ่งความท้าทายที่เราพบเจอกันได้บ่อยๆ
สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมก็คือปัญหาเรื่องการสื่อสาร
ผู้ป่วยที่เริ่มมีความถดถอยด้านการรู้คิด
หรือแม้กระทั่งเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อม
มักจะมีปัญหาด้านการสื่อสารไม่บ้างก็น้อย
เช่น พูดช้า พูดไม่คล่อง พูดติดขัด นึกคำไม่ออก เรียกชื่อไม่ถูก
หรือแม้กระทั่งฟังไมได้ยิน ฟังสิ่งที่เราพูดไม่เข้าใจ
แล้วในฐานะผู้ดูแจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ?
สิ่งสำคัญอันดับแรก ต้องเริ่มต้นที่ทัศนคติที่มีต่อผู้ป่วย
คือ ต้องเข้าใจว่าความเจ็บป่วยของผู้ป่วยเป็นความเสื่อมถอยทางสมอง
คล้ายๆกับความเสื่อมถอยที่เกิดกับร่างกาย แต่มองด้วยตาไม่เห็น
ดังนั้นจึงต้องอาศัยความเข้าอกเข้าใจที่ค่อนข้างมาก
ว่าอาการที่ผู้ป่วยเป็น สิ่งที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญ เกิดจากโรคของเขา
ความสามารถต่างๆย่อมไม่เท่าเดิม
การเรียนรู้การปรับตัวย่อมไม่ดีเหมือนเดิม
เราอาจจำเป็นต้องปรับตัวเข้าหาผู้ป่วยเป็นหลัก
มากกว่าจะคาดหวังให้ผู้ป่วยปรับตัวเข้าหาเรา
เพราะอาจจะเป็นไปได้ยากด้วยข้อจำกัดของตัวโรคในขณะนี้
คาดหวังลดลงซักหน่อย ใจเย็นมากขึ้นซักนิด
จะช่วยให้การดูแล พูดคุยสื่อสาร เป็นไปได้ด้วยดีมากขึ้น
ต่อมาคือการวิเคราะห์ปัญหาว่าปัญหาในการสื่อสารที่ไม่ดีของผู้ป่วย
แท้จริงแล้วเกิดจากอะไรกันแน่
ซึ่งหลักๆแล้วมักจจะเกิดจาก 3 สาเหตุที่พบบ่อย
1. การได้ยินที่ลดลง
เมื่อผู้ป่วยได้ยินไม่ชัด ก็ฟังไม่รู้เรื่องเรื่องสื่อสารได้ยากลำบากมาขึ้น
ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการับการตรวจการได้ยิน
และรักษาสาเหตุของการได้ยินที่ไม่ชัดให้เหมาะสม
เน้นพูดสื่อสารช้าๆ ชัดถ้อยชัดคำ ด้วยปรพโยคที่เข้าใจง่าย
2. การนึกคำพูดไม่ออก
คือผู้ป่วยเข้าใจภาษาดี รู้ว่าจะสื่อสารอะไร
แต่ติดขัดในการนึกคำพูด คิดช้าลงกว่าแต่ก่อน
ทำให้เวลาจะพูดอะไรออกมาทำได้ลำบากมากขึ้น
อาจใช้เทคนิคในการสื่อสารเพื่อช่วยในการเดาสิ่งที่ผู้ป่วยจะพูด
จากบริบท ผ่านการสื่อสารทดแทนเช่นการพิมพ์หรือการเขียน
หรือผ่านการถามคำถามนำ ให้ตัวเลือกต่างๆ
3. การสูญเสียความสามารถทางด้านภาษา
คือผู้ป่วยเสียความเข้าใจในภาษาและความรู้ความเข้าใจทั่วไป
ทำให้ฟังแล้วไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร
จะเรียกก็เรียกไม่ถูก
หรือแม้กระทั่งเสียความเข้าใจไปว่าอะไรเป็นอะไร
ซึ่งอาการตรงนี้มักเกิดจากโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมโดยตรง
และความมีท้าทายในการเดาความหมายในการสื่อสารมากขึ้น
สำหรับเทคนิคต่างๆในแต่ละหัวข้อปัญหา
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ผ่านวิดีโอของคลินิกความจำนี้ได้เลยครับ