บริการผู้ป่วยนอก | OPD Service
บริการผู้ป่วยนอก | OPD Service
คลินิกความจำ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
คลินิกความจำ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
การตรวจวินิจฉัยและรักษา | Diagnosis and treatment
การตรวจภาพสมองด้วยเทคนิคต่างๆ | Brain imaing
การตรวจวินิจฉัยและรักษา | Diagnosis and treatment
การตรวจประเมินทางประสาทจิตวิทยา เป็นการประเมินเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและการทำงานของสมองในความสามารถด้านต่างๆ ประกอบด้วย ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา (IQ) สมาธิ ความจำ ทักษะด้านการบริหารจัดการ (การแก้ไขปัญหา การให้เหตุผล และการวางแผน) การรับรู้มิติสัมพันธ์ และ ความเข้าใจและการใช้ภาษา รวมทั้งตรวจประเมินสภาวะทางจิตใจต่าง ๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ความเครียด หรือ บุคลิกภาพ เป็นต้น
การตรวจประเมินทางประสาทจิตวิทยาจะดำเนินการโดยนักจิตวิทยาคลินิก ลักษณะการตรวจประเมินโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นลักษณะการทำแบบทดสอบ เช่น การต่อบล็อกไม้ การคัดลอกรูปภาพ หรือ การจำข้อมูลต่างๆ เป็นต้น รวมทั้งการให้ตอบคำถามด้วยตนเอง (self-rating)
การตรวจประเมินทางประสาทจิตวิทยา จะช่วยให้ทราบถึงระดับของความสามารถด้านต่างๆ ของผู้ป่วยว่าอยู่ในระดับเมื่อเทียบกับวัย ความเสื่อมของความสามารถต่างๆ เป็นไปตามวัยหรือเข้าเกณฑ์ภาวะสมองเสื่อมแล้วหรือไม่ ข้อมูลจากการประเมินนี้จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ช่วยวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังช่วยติดตามการรักษาได้อย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ | Other laboratory investigations
กลุ่มบำบัดสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย | Supportive Group for Caregiver
ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมจะมีการทำงานของสมองที่เสื่อมถอยลง นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพ การคิดให้เหตุผล การรับรู้ อารมณ์ รวมถึงการดูแลตนเอง ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ดูแลต้องรับมือ จัดการ และคอยให้การช่วยเหลือผู้ป่วยมากขึ้น ผู้ดูแลหลายรายต้องแบ่งเวลาส่วนตัวหรือใช้เวลาทั้งหมดที่มีในการดูแลผู้ป่วย นำมาซึ่งความเครียด ความเศร้า เป็นทุกข์ รู้สึกผิด ขาดความเป็นส่วนตัว และแยกตัวจากสังคมเดิมที่ตนมีอยู่ จนถือได้ว่าผู้ดูแลนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ไปพร้อมกับการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม
กลุ่มบำบัดสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิด การดูแลตนเอง และวิธีการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย อีกทั้ง ยังเป็นพื้นที่ให้ผู้ดูแลได้บอกเล่าความรู้สึกต่างๆ และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน จึงถือได้ว่า พื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้จะเป็นอีกกลุ่มสังคมหนึ่งที่มีทั้งทรัพยากรทางความคิด ความรู้ และเป็นพื้นที่สร้างกำลังใจให้แก่ผู้ดูแล เพื่อให้ผู้ดูแลและผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น